ไรขี้เรื้อนเปียก / ไรขี้เรื้อนรูขุมขน

ชื่อวิทยาศาสตร์  Demodex canis

ชื่อสามัญ  Demodex Mites

            ไรขี้เรื้อนเปียกจัดอยู่ในกลุ่มแมลงที่เป็นปรสิตภายนอก มีขนาดเล็ก ลำตัวมีลักษณะเรียวยาว คล้ายตัวหนอน ตัวเต็มวัยจะมีขา 8 ขา เพศเมียจะมีขนาดความยาว 300 ไมโครเมตร ส่วพเพศผู้จะยาว 250 ไมโครเมตร ไรขี้เรื้อนเหล่านี้มักอาศัยอยู่ในรูขุมขน (hair follicle) เป็นส่วนใหญ่และพบได้บ้างที่ต่อมไขมันของผิวหนัง (sebaceous glands) โดยกินซีบัม (sebum) และเซลล์เนื้อเยื่อที่ตายแล้ว (cell debris) ของเยื่อบุรูขุมขนเป็นอาหาร มักพบบริเวณใบหน้า หัว รอบตา ลำตัว ขา ฝ่าเท้า อุ้งเท้าของสุนัขและในกรณีรุนแรงอาจพบได้ทั้งตัวสัตว์ การติดไรชนิดนี้เกิดจากการสัมผัสโดยตรง (Direct contact) จากแม่สุนัขสู่ลูกสุนัขแรกเกิด โดยการติดจะเกิดได้ตั้งแต่วันแรกที่ลูกสุนัขสัมผัสกับแม่ เพราะฉะนั้นบริเวณที่มักจะติดไรก่อนก็คืออุ้งเท้า รอบปากและรอบตาที่สัมผัสตัวแม่สุนัขขณะดูดนม แต่จะยังไม่สามารถก่อให้เกิดโรคได้เนื่องจากมีปริมาณน้อย และลูกสุนัขยังมีภูมิคุ้มกันจากแม่อยู่

วงจรชีวิต

          วงจรชีวิตของไรชนิดนี้ประกอบไปด้วย 4 ระยะที่สำคัญคือ ไข่ (egg), ตัวอ่อน (larva), ตัวกลางวัย (nymph) และตัวเต็มวัย (adult) เริ่มจากตัวเต็มวัยเพศผู้ และเพศเมียผสมพันธุ์กันและออกไข่ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปกระสวย (fusiform) จากนั้นไข่จะฟักออกเป็นตัวอ่อน (larva) ที่มีลักษณะเรียวยาวและมีขา 6 ขา ต่อมาตัวอ่อนจะลอกคราบกลายเป็นตัวกลางวัย (nymph) ที่มี 8ขา ที่ระยะนี้ตัวกลางวัยจะลอกคราบอีก 2 ครั้งเพื่อกลายเป็นตัวเต็มวัย(adult) และพัฒนาต่อจนผสมพันธุ์ออกไข่ในรุ่นต่อไป  วงจรชีวิตของไรชนิดนี้ใช้เวลาเพียง 3 สัปดาห์ในการพัฒนาจากไข่จนถึงตัวเต็มวัยที่สมบูรณ์พร้อมออกไข่ในรอบต่อไป ซึ่งถือว่าเป็นวงจรชีวิตที่สั้นมากๆและง่ายต่อการแพร่ขยายจำนวนเพื่อก่อโรคในสัตว์

วงจรชีวิต1http://www.animalhealth.bayer.com/4907.0.html#c13477

วงจรชีวิต2http://www.studyblue.com/notes/note/n/mites/deck/1266265

วงจรชีวิต3

http://www.icb.usp.br/~marcelcp/demodex.htm

 

การก่อโรค

  • ตัวไรขี้เรื้อนดีโมเด็กซ์ (Demodex spp.) เป็นเชื้อที่พบได้ปกติบนผิวหนังของสุนัข แม้ในสุนัขที่ไม่เป็นขี้เรื้อนหรือโรคผิวหนังก็ตาม ที่ไม่ก่อโรคเพราะมีเชื้อจำนวนน้อย และสุนัขแข็งแรงมีภูมิคุ้มกัน
  • ในสุนัขที่มีไรจำนวนมาก ตัวไรจะไชเข้าทำลายรูขุมขน ทำให้เกิดอาการขนร่วง  ผิวหนังแดง คันและเกา มีเม็ดตุ่ม มีตุ่มหนอง ผิวหนังเยิ้มแฉะ มีแผลหลุม ผิวหนังอักเสบ มีเลือดออก มีกลิ่นตัว เกิดรูขุมขนอักเสบ (Folliculitis)
  • ความรุนแรงของการติดไรขี้เรื้อนเปียกแบ่งเป็น 2 ระดับ
  1. แบบเฉพาะที่ (พบรอยโรค 1-5 จุด) มักพบที่บริเวณแก้ม เหนือคิ้ว ขาหน้า โดยสุนัขจะมีขนร่วง ผิวหนังแดง คันและเกา มีแผลอักเสบเป็นตุ่มแดงๆ เล็กๆ ซึ่งอาจหายได้เองถ้าสุนัขแข็งแรงและมีภูมิคุ้มกันดีพอ หรืออาจลุกลามจนกลายเป็นแบบกระจายทั่วตัว
  2. แบบกระจายเป็นบริเวณกว้าง (พบรอยโรคมากกว่า 5 จุด) สุนัขตัวจะมีการอักเสบของผิวหนังรุนแรงมาก ขนร่วง ตุ่มหนองแตกออก เป็นแผลคันเกา มีเลือดออก ผิวหนังมีลักษณะหนาตัวและมีสีคล้ำขึ้น  พบได้ตั้งแต่ใบหน้า ลำตัว ขา และเท้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บริเวณอุ้งเท้าที่เกิดการบวม อักเสบ แดง มีตุ่มหนอง และทำให้สุนัขเจ็บปวดมากเวลาเดินหรือลงน้ำหนัก

ก่อโรค1http://www.treaschwigveterinaryclinic.com/tag/demodex-canis/ ก่อโรค2

http://www.vetnext.com/fotos/red_mange.jpg

ก่อโรค3http://animalcentral.net/blog/demodectic-mange-demodicosis

การตรวจวินิจฉัย

หากสุนัขที่บ้านเริ่มมีอาการคล้ายกับที่กล่าวไปแล้ว ควรพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรค ซึ่งสัตวแพทย์จะทำการขูดตรวจผิวหนังด้วยใบมีดในระดับที่ลึกพอสมควรจนก่อให้เกิดเลือดออกซิบๆ (deep skin scrapings) หรือทำการตัดชิ้นเนื้อผิวหนังไปตรวจ (biopsy) เพื่อไปส่องตรวจหาตัวไรภายใต้กล้องจุลทรรศน์

ตรวจ1http://www.vetnext.com/search.php?s=onderwerp&id=73069043022%20187

ตรวจ2http://www.dogsmith.com/DogSmithBlog/2010/10/07/when-your-pet-is-itchy-is-it-fleas-or-something-worse

 

Comments are closed.