เห็บสุนัข
ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhipicephalus sanguineus
ชื่อสามัญคือ brown dog tick
เห็บ (Ticks) เป็นปรสิตภายนอกที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับสัตว์เลี้ยงในประเทศไทย มีหลายสายพันธุ์แต่สายพันธุ์ที่พบได้มากที่สุดในสุนัขเลี้ยงในประเทศไทยคือ Rhipicephalus sanguineus มีรูปร่างแตกต่างกันขึ้นกับช่วงชีวิตโดยเห็บตัวเต็มวัยจะมีขา 8 ขา และเห็บจะมีส่วนหัวไม่ชัดเจนแต่จะเห็นส่วนที่เป็นปากยื่นออกมาทางตอนหน้าตัว เห็บจะใช้ส่วนปากของมันแทงผิวหนังของสุนัขและฝังปากของมันเข้าในชั้นใต้ผิวหนังเพื่อเกาะบนตัวสุนัข แล้วดูดกินเลือดเป็นอาหาร
http://www.pestid.msu.edu/InsectsArthropods/BrownDogTickRhipicephalussanguineus/tabid/287/Default.aspx
http://topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/2007/01/J5039404/J5039404.html
วงจรชีวิต
วงจรชีวิตของเห็บสุนัขค่อนข้างซับซ้อนเนื่องจากเห็บมีการขึ้นลงหรือเข้าออกตัวสัตว์หลายครั้ง โดยมีระยะที่สำคัญ 4 ระยะคือ ไข่ (Egg), ตัวอ่อน (Larva หรือ Seed ticks) มี 6 ขา, ตัวกลางวัย (Nymph) มี 8 ขา และตัวเต็มวัย (Adult) มี 8 ขา
http://www.tickencounter.org/tick_identification/brown_dog_tick
- เริ่มต้นจากเห็บตัวเต็มวัยมีรูปร่างแบน(จากบนลงล่าง) มีขา 8 ขา สีน้ำตาลแดง มีขนาดยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร เห็บเพศผู้จะไม่เปลี่ยนขนาดมากนักเนื่องจากมันดูดกินเลือดเป็นระยะเวลาสั้นๆและจะเดินหาเพศเมียเพื่อผสมพันธุ์ ในขณะที่ตัวเต็มวัยเพศเมียจะเกาะดูดกินเลือดจำนวนมากจนตัวเป่งขยายขนาดเป็น 12 มิลลิเมตรเมื่อมันดูดกินเลือดจนเต็มที่และได้รับการผสมพันธุ์มันจะถอนส่วนปากออกจากผิวหนัง หล่นจากตัวสุนัขแล้วไปหาที่วาง ไข่
http://bugguide.net/node/view/188130
- เห็บเพศเมียจะหาที่วางไข่โดยเฉพาะบนพื้นดินบริเวณที่เป็นซอก มุมหรือขอบรอยต่อของบ้าน เห็บตัวเมียสามารถไต่ขึ้นที่สูงในแนวตั้งฉากกับพื้นได้ ดังนั้น บางครั้งเราจะพบว่ามันจะไต่กำแพงไปวางไข่ตามรอยแตกบนกำแพงหรือฝาฝนังบ้านได้ด้วย โดยเห็บตัวเมีย 1 ตัวจะวางไข่ประมาณ 4,000 ฟอง
- ไข่จะใช้เวลาฟักนานประมาณ 17 – 30 วัน และฟักออกมาเป็นตัวอ่อน (larva หรือ Seed ticks) ที่มี 6 ขา
- ตัวอ่อนของเห็บ (larva หรือ Seed ticks) จะเคลื่อนที่ได้ว่องไวมาก ตัวอ่อนนี้จะขึ้นไปดูดกินเลือดบนตัวสุนัขประมาณ 2 -3 วัน เมื่ออิ่มแล้วจะหล่นจากตัวสุนัข ไปหาที่ลอกคราบ กลายเป็น ตัวกลางวัย(Nymph) ซึ่งมีขนาดใหญ่ขึ้นและมี 8 ขา
- ตัวกลางวัยนี้จะขึ้นดูดกินเลือดบนตัวสุนัขอีก และจะหล่นลงสู่พื้น เมื่อกินอิ่มแล้วเช่นกัน จากนั้นจะทำการลอกคราบกลายเป็นตัวเต็มวัย ซึ่งจะต้องขึ้นบนตัวสุนัขอีกเพื่อดูดเลือดและผสมพันธุ์ต่อไป วงจรชีวิตของเห็บชนิดนี้จะ สมบูรณ์ได้ในเวลา ประมาณ 45-50 วัน
การก่อโรค (ความสำคัญทากการแพทย์และสัตวแพทย์)
- ทุกระยะของเห็บยกเว้นไข่จะดูดกินเลือดของสุนัขเเละสัตว์เลี้ยง รวมถึงคนด้วยแต่ไม่บ่อยนัก
- การดูดกินเลือดจำนวนมากเนื่องจากติดเห็บจำนวนมากจะส่งผลให้สุนัขเเละสัตว์เลี้ยงเกิดภาวะโลหิตจาง
- รอยกัดของเห็บจะทำให้เกิดบาดแผลบนผิวหนังของสุนัข ซึ่งอาจพัฒนาไปสู่สภาวะผิวหนังอักเสบ ติดเชื้อเป็นหนอง
- ก่อให้เกิดความรำคาญและอาการคัน เนื่องจากการกัด น้ำลายเห็บ การอักเสบของผิวหนัง ทำให้สุนัขไม่สบายตัว เกาและเกิดแผลตามมาได้
- เห็บยังเป็นพาหะของเชื้อพยาธิในเม็ดเลือด
- โรคไข้เห็บ (Babesiosis)
- Ehrlichiosis
- Hepatozoonosis
ซึ่งส่งผลให้สุนัขเจ็บป่วย มีไข้สูง โลหิตจาง และนำไปสู่การเสียชีวิต