เป็นโปรโตซัวในเลือดกลุ่ม Piroplasm จัดอยู่ใน Phylum Apicomplexa เชื้อปรสิตแบบ obligative intracellular parasite พบเชื้อชนิดนี้ได้ทุกแห่งในโลกที่มีเห็บ โดยเฉพาะในแถบร้อนชื้น สามารถพบเชื้อนี้ได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วนนมหลายชนิด

เม็ดเลือดที่ติดเชื้อ         เม็ดเลือดแดง

โดยเชื้ออยู่ในไซโตพลาสซึมของเม็ดเลือดแดงจะเป็นระยะ merozoite ซึ่งเชื้อมีรูปร่างที่เป็นลักษณะเฉพาะ คือ เป็นรูปหยดน้ำ หรือ pyriform shape  โดยมักพบเชื้อในรูป pyriform shape อยู่กันเป็นคู่ในเม็ดเลือดแดง ในบางครั้งอาจพบเชื้อมีรูปร่างหลายแบบได้ซึ่งขึ้นกับระยะของเชื้อในเม็ดเลือดแดง เช่น รูป round  และ amoeboid form เป็นต้น  เชื้อไม่มีการสร้าง pigment granule ในไซโตพลาสซึมของเชื้อ   โดยทั่วไปแบ่งเชื้อออกเป็น 2 กลุ่มตามขนาดของเชื้อในเม็ดเลือด   ได้แก่   กลุ่มแรกเป็นเชื้อที่มีขนาดน้อยกว่า  3  ไมครอน   จึงเรียกเชื้อในกลุ่มนี้ว่า  Small babesia  เช่น  B.bovis ,B. gibsoni และ B. equi  เป็นต้น   และอีกกลุ่มเป็นเชื้อที่มีขนาดมากกว่า 3 ไมครอน เรียกเชื้อในกลุ่มนี้ว่า  Large babesia  เช่น   B. bigemina, B. canis และ B. caballi  เป็นต้น

ชีพจักร

                   เมื่อเห็บดูดเลือดจากวัวจนกระทั่งเห็บอิ่มตัว  เม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้อจะเข้าสู่ทางเดินอาหารของเห็บโดยเชื้อจะยังคงอยู่ในเม็ดเลือดแดง  2 – 3 ชั่วโมง หลังจากนั้นเชื้อจะมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็น gametocyte ซึ่งมีลักษณะพิเศษที่เรียกว่า ray bodies หรือ  strahlenkorper  โดยจะแบ่งเซลล์ให้  2 – 4 gametes  ที่มีลักษณะหางยาวและหัวคล้ายธนู        และเมื่อ gamete เกิดการปฏสนธิจะได้ zygote  ที่มีลักษณะกลม   โดย zygote จะเข้าสู่เซลล์ในทางเดินอาหาร (gut epithelial cell)  ของเห็บ  ซึ่งจะมีการแบ่งเซลล์ต่อไปจนได้ sporokinete  จำนวนมาก  จากนั้น sporokinete  จะออกจาก epithelial cell  แล้วจะไชทะลุผนังทางเดินอาหารแล้วเข้าสู่ระบบ   haemolymph  เพื่อไปอวัยวะอื่น ๆ ของเห็บ  เช่น  กล้ามเนื้อ  malpighian tubule  และ รังไข่ของเห็บเพศเมีย     เมื่อไปถึงอวัยวะดังกล่าว  sporokinete จะเข้าสู่เซลล์ในอวัยวะนั้น     ส่วนในรังไข่ sporokinete จะเข้าสู่เซลล์ไข่ (oocytes)  จากนั้นเชื้อจะเริ่มแบ่งเซลล์  โดยที่ในเซลล์กล้ามเนื้อ และ malpighian tubule cell เชื้อจะแบ่งเซลล์ให้ sporokinete  จำนวนมาก  จากนั้น sporokinete  จะออกจากเซลล์ดังกล่าวแล้วเข้าสู่ช่องว่างลำตัวซึ่งเชื้อจะเดินทางมาที่ต่อมน้ำลายและเข้าสู่เซลล์ของต่อมน้ำลายเพื่อแบ่งเซลล์ให้ sporozoite  ซึ่งเป็นเชื้อระยะติดต่อให้กับสัตว์ต่อไป  ส่วนกรณีที่เชื้อเข้าสู่เซลล์ไข่นั้นเมื่อไข่ฟักเป็นตัวอ่อนเห็บ (larva) เชื้อจะเข้าสู่  gut epithelial cell  และเริ่มแบ่งเซลล์ให้  sporokinete  จำนวนมาก       และหลังจากนั้น  sporokinete   จะออกจากเซลล์  และไชทะลุผนังลำไส้แล้วเดินทางมายังต่อมน้ำลายเพื่อเข้าสู่เซลล์ในอวัยวะดังกล่าว และเริ่มแบ่งเซลล์เพื่อผลิตเชื้อระยะ  sporozoite   ต่อไป  ซึ่งการที่เชื้อจาก  gut epithelium  cell  ของ  engorge  tick  female   สามารถถ่ายทอดเชื้อเข้าสู่เห็บตัวอ่อนได้นั้น  เรียกว่า  เป็นการถ่ายทอดเชื้อแบบ transovarial transmission   ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษที่สามารถพบได้ในเห็บที่มีเชื้อ  Babesia   อยู่ภายในร่างกาย      นอกจากนี้  Babesia   ยังมีการถ่ายทอดเชื้อแบบ transtadial transmission  ร่วมด้วย   เมื่อพิจารณาจากชีพจักรของเชื้อในเห็บนั้น  พบว่าเห็บสามารถถ่ายทอดเชื้อได้ตั้งแต่ระยะ larva จนถึง adult   แต่การถ่ายทอดเชื้อจะเกิดขึ้นได้เมื่อขณะเห็บดูดกินเลือด      ดังนั้นจึงขึ้นกับชนิดของเห็บว่าเป็นเห็บในสกุลใด     เพราะเนื่องจากเห็บต่างสกุลกันก็มีระยะการดูดกินเลือดต่างกัน  ตัวอย่าง เช่น  เห็บ  R. sanquineus  สามารถถ่ายทอดเชื้อได้ทั้ง 3 ระยะของเห็บ  แต่เห็บ Boophuilus  สามารถถ่ายทอดเชื้อได้เพียง 1 ระยะเท่านั้น

เมื่อเชื้อระยะ  sporozoite  เข้าสู่ร่างกายสัตว์ขณะเห็บดูดเลือด      เชื้อจะเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตแล้วเข้าสู่เม็ดเลือดแดงโดยตรง    โดยไม่มีการไปเพิ่มจำนวนในเซลล์อื่น ๆ ก่อนเข้าเม็ดเลือดแดง  แต่พบว่าในบางชนิดของ  Basesia  เช่น  Small babesia บางชนิด  ได้แก่  B. microti และ B. equi เชื้อจะมีการเพิ่มจำนวนในเม็ดเลือดขาวก่อนที่จะเข้าสู่เม็ดเลือดแดง (exoerythrocytic schizogony)  ซึ่งคล้ายกับเชื้อ Theileria  เมื่อเชื้อเข้าสู่เม็ดเลือดแดงในระยะแรกเชื้อจะอยู่ใน parasitophorus vacuole    แต่ต่อมา vacuole จะหายไป  หลังจากนั้นเชื้อจะมีรูปร่างลักษณะเป็นเชลล์กลมขนาดใหญ่กว่าระยะ merozoite ปกติ   และอยู่ในไซโตพลาสซึมของเม็ดเลือด     ซึ่งบางครั้งอาจเรียก merorzoite ดังกล่าวว่า trophozoite  จากนั้น trophozoite จะแบ่งเซลล์ให้ 2 merozoites ที่อยู่กันเป็นคู่ในเม็ดเลือดแดง  และ merozoite จะแบ่งเซลล์ต่อไปจนกระทั่งมีเชื้อจำนวนมากในเม็ดเลือดแดง  จนสุดท้ายเม็ดเลือดแดงแตกทำให้เชื้อถูกปลดปล่อยออกนอกเซลล์  หลังจากนั้นเชื้อจะเริ่มเข้าสู่เม็ดเลือดแดงอื่นเพื่อเพิ่มจำนวนต่อไป   รวมทั้งรอเวลาให้พาหะเข้ามาดูดกินเลือดเพื่อจะได้มีการสืบพันธุ์แบบใช้เพศในเห็บพาหะ

นอกจากการติดเชื้อจะผ่านทางเห็บแล้ว    ทางการถ่ายเลือด  และการใช้เครื่องมือผ่าตัดร่วมกันก็สามารถเป็นทางของการติดต่อของโรคได้เช่นกัน

Comments are closed.